Saturday, January 28, 2006

Quiet Singapore, Unquiet Bangkok

Quiet Bangkok has overflowed its boundaries to catch the attention of Quiet Singaporeans. Bangkok's newspapers largely ignore issues of noise, not to mention the activities of Quiet Bangkok, making one ponder the truth of the saying; "a prophet is ignored in his own country". Nevertheless, Quiet Bangkokian is happy to see that our neighbouring micro state shows interest, as nothing galvanizes Thai officialdom as much as adverse notice abroad. To make the point even more an irritant, perhaps sought after Singapore tourists may be discouraged at the thought of the Bangkok noise experience,
UNLESS SOMETHING IS DONE ABOUT IT.

Wednesday, January 04, 2006

A Plague on Your Cinemas

ฟ้าถล่มที่โรงหนัง
‘วีรพันธุ์ วงศ์วรรณ’

ผู้เขียนเคยเป็นคนชอบดูหนัง แต่สามสี่ปีมานี้ ไม่อยากเข้าโรงหนังเลย เพราะเสียงดังมาก เมื่อปีที่แล้ว เพื่อนชวนไปดูหนังชั้น โกลด์คลาส นึกว่าบริการชั้นหรูนี้ รสนิยมย่อมวิไล เสียงจะต้องไม่ดังแน่ พอเดินเข้าโรงหนัง ผู้เขียนตกใจมาก ที่เสียงเพลงและหนังโฆษณาดังราวฟ้าถล่ม เสียงทะลวงเข้าไปกระแทกหัวใจจนทนไม่ไหว เดินออกมาขอร้องให้เจ้าหน้าที่ช่วยหรี่เสียงลง ได้รับคำตอบว่า หรี่ไม่ได้ ตั้งโปรแกรมไว้แล้ว ผู้เขียนบอกว่า ห้องคุมเสียงอยู่ที่ไหน จะไปคุยกับคนฉายหนังเอง เจ้าหน้าที่ก็อ้ำอึ้ง ไม่ยอมพาไป ผู้เขียนไม่ยอมทนหูแตก เลยขอเงินคืน

นับตั้งแต่โรงหนังมีขนาดเล็กลงและเปลี่ยนยุทธวิธี ย้ายไปอยู่ในศูนย์การค้า บรรยากาศของการไปดูหนังเปลี่ยนไปมาก เสียงจอแจจากศูนย์การคา และเสียงเพลงจากโรงหนังที่ดังกึกก้อง ทำให้ผู้เขียนรู้สึกเหน็ดเหนื่อยและเบื่อหน่ายโรงหนังอย่างยิ่ง รู้สึกว่าการไปดูหนัง ไม่ผ่อนคลายเลย ต้องคอยเอามืออุดหูตลอดเวลา เหมือนไปงานวัด ที่ผู้ควบคุมเสียง ใช้อำนาจบาตรใหญ่ในการทำร้ายหูคนฟัง ด้วยการเปิดวอลลุมที่ดังเกินกว่าหูคนปกติจะทนได้

เสียงในโรงหนังแทบทุกโรง ใกล้เคียงกับเสียงฟ้าผ่า เป็นอาชญากรรมที่ถูกละเลยและปราศจากการตรวจสอบ เสียงดังของโรงหนังแทบทุกโรงในประเทศไทย เป็นเรื่องที่เกินกว่าความน่ารำคาญไปมาก มีผู้วัดความดังของโรงหนัง ปรากฏว่าเท่าดิสโก้เทค พนักงานที่ทำงานในโรงหนังคงหูเสียหมดแล้ว ส่วนคนที่ยังไปดูหนังกันได้ โดยไม่รู้สึกอะไร ก็น่าจะหูตึงด้วย

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโสตประสาททั่วโลก บอกว่าสาเหตุใหญ่ในยุคปัจจุบัน คนเป็นโรคหูเสื่อมคือหูตึงก่อนวัย เพราะมีชีวิตอยู่กับเสียงดังเกือบตลอดเวลา สำหรับคนหูตึงแล้ว เหมือนติดยา ก็จะต้องการฟังเสียงดังมากขึ้น ทำให้รบกวนความสงบสุขในสังคม และมีคนจำนวนหนึ่ง จะกลายเป็นโรคหูอึง เกิดจากประสาทหูถูกทำลาย ไม่สามารถกรองเสียงดังได้ โรคนี้รักษาไม่ได้ ทำให้มีชีวิตที่เหมือนตกนรก

นิตยสารในต่างประเทศรายงานว่า นักดนตรีร้อคชื่อดังหลายคนเป็นทั้งหูหนวกและหูอึง มีชีวิตที่แสนทุกข์ทรมาน เพราะเมื่อก่อนก็ชอบเล่นดนตรีแผดเสียงเพื่อความสะใจมาก่อน เดี๋ยวนี้ก็มาคร่ำครวญว่า คุยกับใครไม่รู้เรื่อง ไม่ได้ยิน บางคนมีโรคหูอึงประกอบด้วย ในหูมีเสียงดังตลอดเวลา ทรมานจนบอกไม่ถูก

เป็นเรื่องน่าตกใจ ที่เด็กรุ่นใหม่นี้ชอบฟังเพลงเสียงดังๆกันเป็นส่วนใหญ่ น่าเป็นห่วงที่เด็กส่วนใหญ่ที่ผลผลิตของสังคมอีเล็คทรอนิก ไม่ชอบอ่านหนังสือ อยู่เงียบๆ แล้วรู้สึกว้าเหว่ มีข้อสรุปว่า คนที่เป็นโรคขี้เหงา เพราะอยู่เงียบๆไม่เป็น ในยุโรป การสอนหนังสือเด็ก ต้องมีกิจกรรมที่จะพาเด็กออกไปฟังเสียงธรรมชาติ สอนเด็กให้รู้จักฟังเสียงฟ้าเสียงฝน เสียงแมลงกันบ่อยๆ เด็กจะได้มีจินตนาการ ชอบความเงียบ ชอบอ่านหนังสือ ปัญหาของเด็กในยุคอีเล็คทรอนิกนี้ คือติดเกมส์ ติดเพื่อน และต้องฟังเสียงเพลงดังๆ เพราะอยู่คนเดียวเงียบๆไม่ได้

กระทรวงวัฒนธรรมไทย เป็นห่วงเหลือเกินว่า เนื้อร้องของเพลงที่มีเนื้อหาทำให้ ศีลธรรมเสื่อมโทรม ฟังบ่อยๆ จะชอนไช แทรกซึมไปฝังรากอยู่ในสมองเด็ก แต่หาได้ตระหนักว่า เพลงอะไรก็ตาม หากแผดเสียงจนเกินงาม มากับวัฒนธรรมส่งเสียงดังตามอำเภอใจ ซึ่งระบาดอยู่ทุกตรอก ร้ายแรงยิ่งกว่าเชื้อไข้หวัดนก เสียงที่กระแทกกระทั้นโสตประสาทนี้ ทำลายหูอันบอบบางของเยาวชน ยิ่งฟังเพลงดังมากเท่าไร จิตใจก็กระด้างมากขึ้นเท่านั้น

ร้านซีดี ร้านเกมส์ และร้านคาราโอเค ร้านอาหาร โรงหนังในศูนย์การค้า ซึ่งเป็นแหล่งบันเทิงของเยาวชนนี้ ล้วนต้องแผดเสียงดังมากๆเพื่อเรียกร้องความสนใจ เพราะคนเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นคนหูตึงกันหมดแล้ว เป็นที่สร้างนิสัยให้เยาวชน เป็นคนหยาบกระด้าง และกลายเป็นคนหูตึงตั้งเด็ก ฟังอะไรก็ไม่รู้เรื่อง อีกไม่นานนี้ เยาวชนของเราคงพูดเบาๆกันไม่เป็น ต้องตะโกนคุยกัน และต้องเปิดทีวีดังๆ ฟังเพลงดังๆ กันทุกบ้าน ทุกวันนี้ ผู้คนบ่นกันมากว่า สังคมทุกวันนี้ มีแต่เด็กๆชอบคอนเสิร์ตเสียงดังหูแตก เปิดวิทยุ ฟังเพลงกันดังลั่นซอย จะมีผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษา กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงวัฒนธรรม คิดถึงปัญหานี้บ้างหรือเปล่าครับ



Tuesday, January 03, 2006

All Amplification Distorts

When Thailand’s Cultural Centre in Bangkok opened its doors to musicians, orchestras, opera, and ballet companies the management deployed their multi microphone and amplifying system expecting that the same musical rules would be followed as in a wat fair. Whether it was at the protest of the performers, the audience, or perhaps some knowledgeable person among them, they soon learned that there is music that is not to be amplified. It seems that even in great music centres of the world the lesson is being forgotten and there is a tendency to amplify, to “correct” the acoustics of performance halls.
The year began with an article by a music critic of the New York Times pointing out that no amplification system, however modern, advanced, or complex can enhance the singing voice of a great artist or the sound of a great musical instrument. But the writer goes on to reflect that there is a greater danger yet; young people are growing up whose hearing is permanently damaged by hours, days, and years of exposure to overloud personal music players so that a generation is no longer capable of hearing the perfection of music without amplification:

Referring to a Newsweek cover story last summer by David Noonan,
"...baby boomers who exposed themselves to blasting rock bands are now suffering the consequences. More than 28 million Americans, many in this age group, have a significant degree of hearing loss, and the number is expected to swell to 78 million by 2030. Mr. Noonan reported that more than 5 million children and teenagers between 6 and 19 have some hearing damage from amplified music and the general noise they encounter every day, a good deal of it funneled directly into their ears. 'If they don't take steps to protect their hearing,' he wrote, 'the iPod generation faces the same fate as the Woodstock generation. Or worse.'"

What tragedy.